วิธีการติดป้ายหนีไฟฉุกเฉิน ป้ายทางออกฉุกเฉิน ป้ายไฟฉุกเฉิน ตามมาตรฐาน

โครงสร้างมาตรฐานของ รูปแบบ ป้ายฉุกเฉิน ป้ายหนีไฟฉุกเฉิน ป้ายไฟฉุกเฉิน Max Bright  ป้ายทางออกฉุกเฉิน

รับติดตั้งไฟฉุกเฉิน รับติดตั้งป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน

 ป้ายทางออกฉุกเฉิน (emergency exit sign) หมายถึง ป้ายที่ใช้แสดงทางออกฉุกเฉิน หรือ ทางหนีภัย ทางหนีไฟ เป็นป้ายที่แสดงทางหนีภัย หรือ ทางออกสุดท้าย

 ป้ายทางออกฉุกเฉินด้านบน หมายถึง ป้ายทางออกฉุกเฉินที่ติดตั้งเพดานหรือผนังในตำแหน่งด้านบน ที่สามารถมองเห็นได้จากการเดิน โดยไม่กีดขวางทางเดิน

 ป้ายทางออกฉุกเฉินด้านล่าง หมายถึง ป้ายทางออกฉุกเฉินที่ติดตั้งผนังในตำแหน่งด้านล่าง ที่สามารถมองเห็นได้จากการคลาน

 ป้ายทางออกฉุกเฉินฝังพื้น หมายถึง ป้ายทางออกฉุกเฉินที่ติดตั้งฝังพื้น ที่สามารถมองเห็นได้จากการคลาน

 ป้ายทางออกฉุกเฉินสว่างในตัว หมายถึง ป้ายที่มีความสว่างในตัวเอง โดยมีการเปล่งแสงสว่างของป้ายจากแหล่งกำเนิดแสงสว่างภายใน ไม่ต้องอาศัยแหล่งกำเนิดแสงสว่างภายนอก

 ป้ายเสริม หมายถึง ป้ายใด ๆ ที่เพิ่มเติม หรือ ไม่สอดคล้องกับป้ายทางออกฉุกเฉินตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

 ป้ายทางออกฉุกเฉินต้องมีความสว่างเห็นได้ตลอดเวลา ความสว่างของป้ายไม่น้อยกว่า 8 cd/ตร.ม. ที่ระยะ 25 มม.

 ความสว่างเปรียบต่างของสัญลักษณ์ภายในป้าย ไม่มากกว่า 5:1 เทียบกับป้ายข้างเคียง ไม่น้อยกว่า 4:1 ความสว่างพื้นผิวโดยรอบป้าย ควรไม่เกิน 300 cd/ตร.ม. และมีสีเปรียบต่างกัน

 ป้ายหนีไฟฉุกเฉินส่องสว่างจากภายนอกที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ถือเป็นป้ายเสริม

 ป้ายหนีไฟฉุกเฉินที่สว่างไม่สม่ำเสมอทั่วป้าย เช่น มีหลอด CFL ด้านบน ถือว่า ไม่ผ่านมาตรฐาน ระวังหลอดไฟที่ความสว่างลดลงมาจากอายุการใช้งาน

 ป้ายหนีไฟฉุกเฉินที่ ISO กำหนดให้ใช้สัญลักษณ์รูปภาพให้เข้าใจเหมือนกันทั่วโลก พร้อมด้วยลูกศรบั้งใหญ๋ ในความมืดตาคนไวต่อแสงสีเขียว

 ขอบป้าย (border) หมายถึง พื้นที่บนผิวป้ายทางออกที่นอกเหนือจากพื้นที่องค์ประกอบภาพ และพื้นที่ป้ายเพิ่มเติม เป็นพื้นที่ที่ยอมให้มีได้

 โคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน (emergency exit sign luminaire) หมายถึง โคมไฟฟ้าชุดสำเร็จที่มีแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรองในตัวเพื่อให้ความสว่างกับป้ายทางออกฉุกเฉิน

 โคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉินต่อพ่วง (slave emergency luminaire) หมายถึง โคมไฟฟ้ารับไฟฟ้าจากระบบแหล่งจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉินส่วนกลาง และไม่มีแหล่งจ่ายไฟฟ้าภายในโคมไฟฟ้า

 โคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉินในพื้นที่อันตราย หมายถึง โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินที่สามารถใช้ได้ในสภาพแวดล้อมพิเศษ โดยเป็นโคมไฟฟ้าที่มีลักษณะปลอดภัยสำหรับการใช้ในพื้นที่อันตราย เช่น พื้นที่ก๊าซไวไฟ ไอน้ำ ฝุ่นละออง อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในพื้นที่เหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องถูกออกแบบและทดสอบมาอย่างพิเศษ เพื่อให้มั่นใจว่า อุปกรณ์ไฟฟ้าจะไม่ก่อให้เกิด การระเบิด ประกายไฟ หรือ มีพื้นผิวที่มีอุณหภูมิสูง

 โคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉินในห้องเย็น หมายถึง โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินที่สามารถใช้ได้ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิ

 โคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉินฝังพื้นถือเป็นป้ายเสริม มาตรฐานยังไม่บังคับ ใครมีฐานะทางการเงินพร้อมก็ควรทำ

 ป้ายทางออกฉุกเฉินฝังพื้น สำหรับพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ เช่น โถงนิทรรศการ โถงโรงแรมทางเดิน ให้ใช้เป็นป้ายเสริมเท่านั้น ต้องเป็นชนิดกันน้ำที่มีความแข็งแรง เหมาะสำหรับใช้ในเส้นทางหนีภัย โดยไม่ก่อให้เกิดการสะดุดหรือเป็นอุปสรรคในการหนีภัย

 ป้ายทางออกฉุกเฉินด้านล่าง สำหรับการคลาน ให้ใช้เป็นป้ายเสริมเท่านั้น โดยขอบล่างของป้ายสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 15 ซม. แต่ต้องไม่เกิน 20 ซม. และขอบของป้ายอยู่ห่างจากขอบประตูไม่น้อยกว่า 10 ซม. หากติดตั้งตามกำหนดไม่ได้ให้ปรึกษาผู้เกี่ยวข้อง

 ระยะห่างระหว่างป้ายสูงสุด หมายถึง ระยะห่างสูงสุดระหว่างป้ายในแนวนอนทางตรงที่มาตรฐานยอมรับได้ มีหน่วยเป็นเมตร

 ระยะห่างในการติดตั้ง ไม่เกิน 24 เมตร ตามเส้นทางที่นำไปสู่ทางออกทุกทิศมุมมองสำหรับสัญลักษณ์สูง 10 ซม. (ป้ายสูง 15 ซม.)

 ระยะเวลาขั้นต่ำขนาดแบตเตอรี่ ที่หลับนอน โรงพยาบาล โรงแรม หอพัก(สูงกว่า 2 ชั้น) สถานบันเทิง โรงหนัง อาคารกีฬา ร้านอาหาร ศูนย์การค้า ระยะเวลาขั้นต่ำของแบตเตอรี่อยู่ที่ 2 ชั่วโมง

 ระยะเวลาขั้นต่ำขนาดแบตเตอรี่ ที่ศาลากลางจังหวัด สำนักงาน ร้านค้า พิพิธภัณฑ์ สถานศึกษา โรงงาน โกดัง ระยะเวลาขั้นต่ำของแบตเตอรี่อยู่ที่ 1.5 ชั่วโมง

 รูปในป้ายตามมาตรฐานเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำ อักษร สัญลักษณ์อื่น ๆ เพิ่มนอกเหนือมาตรฐานให้อยู่ในป้ายอิสระแยกต่างหาก

 ความสูงในการติดตั้ง ต้องมีป้ายทางออกด้านบน สำหรับการเดินเร็ว ขอบล่างสูงจากพื้น 2.0 - 2.7 เมตร นอกเหนือจากนี้สามารถทำได้ตามที่กำหนดในแผนที่และคู่มือการป้องกันเพลิงไหม้

 ทุกประตูทางหนีภัย ต้องมีป้ายทางออกที่มองเห็นได้ชัดเจน รูปแบบตามมาตรฐาน

 ทุกประตูทางหนีภัย ต้องไม่มีการติดป้ายที่ไม่เกี่ยวข้อง ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นประตู

 การติดตั้งป้ายทางหนีภัยที่ดีจะบอกทางออกที่ใกล้ที่สุด

 ป้ายทางหนีภัยต้องมีติดตั้งตลอดทางหนีภัยอย่างต่อเนื่อง ตลอดเส้นทางการหนีภัย

 การมองเห็นป้ายทางหนีภัยต้องสามารถมองเห็นได้ชัดเจนตลอดแนวสายตาที่สามารถมองเห็นได้ตลอดเวลา

 ทุกประตูใด ๆ ที่อาจสร้างความสับสนในการหนีภัยให้ติดป้ายบอกให้ชัดเจนว่า "ไม่ใช่ทางออก" "์Not an exit" หรือ บอกว่าเป็นประตูห้องอะไร

 ความล้มเหลวของระบบไฟฟ้าแสงสว่างปกติอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ดังนั้น ต้องมีการตรวจสอบและทดสอบโคมไฟ้าป้ายทางออกตามระยะเวลาที่ได้กำหนด ดังนี้ งานติดตั้งใหม่ ราย 3 เดือน ราย 1 ปี

 การติดตั้งโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน ต้องเป็นตามมาตรฐาน วสท.2004 , มอก.2430 ที่กำหนดไว้

 

 หากสนใจสินค้า ไฟฉุกเฉิน Max Bright , ป้ายหนีไฟ , ป้ายทางออกฉุกเฉิน Max Bright  เชิญคลิกเลยค่

 หรือหากสนใจติดตั้ง ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน , ติดตั้งป้ายทางหนีไฟ , ติดตั้งป้ายไฟทางออก , ติดตั้งไฟฉุกเฉิน , ติดตั้งไฟสำรองฉุกเฉิน ติดต่อบริษัทเพื่อขอราคา เชิญคลิกเลยค่ะ

Visitors: 48,908